V ARE CONNECTED
VARASARN STUDENT COMMUNITY
 
บทสัมภาษณ์
โฟล์ค เต้ ปอนด์ มุก พิ้ง
27 ก.ค. 2565

ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ครีเอทีฟรุ่นใหม่ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์ฯ จากเวที B.A.D Young Cannes และพูดคุยกับตัวแทนประเทศไทยที่ได้ไปร่วมแข่งขัน Young Cannes Lions ณ ประเทศฝรั่งเศส

>>>> แนะนำตัว

  • โฟล์ค JC57 : Art Director บริษัท TBWA
  • เต้ JC56 : Art Director บริษัท Wunderman Thompson Bangkok
  • ปอนด์ JC55 : Creative Group Head บริษัท GREYnJ United
  • มุก JC56 : Copywriter บริษัท GREYnJ United
  • พิ้ง JC57 : Copywriter บริษัท Hakuhodo (Bangkok)

>>>> B.A.D Young Cannes ในประเทศไทย คืออะไร ?

เต้ : เป็นการจัดงานของสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก (Bangkok Art Directors’ Association) เพื่อหาตัวแทนครีเอทีฟรุ่นใหม่ของประเทศไทยไปแข่งขันเวทีโฆษณาระดับประเทศ “Young Cannes Lions” ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยแต่ละประเทศจะส่งครีเอทีฟอายุต่ำกว่า 31 ปีเข้าแข่งขันแคมเปญพิเศษ

การประกวดที่ไทยเพื่อเฟ้นหาครีเอทีฟรุ่นใหม่จะจัดการแข่งขันให้เหมือนกับรอบแข่งจริงของ Cannes ที่ฝรั่งเศส รูปแบบการแข่งขันจะมีเวลาจำกัด โดยปีนี้มี 2 Category คือ หมวดดิจิทัล จะมีเวลาคิดงานแค่ 24 ชั่วโมง และหมวดฟิล์ม จะมีเวลา 48 ชั่วโมง คล้ายกับรอบการแข่งขันแบบ International เพื่อหาคนที่พร้อมจะไปแข่งในสนามจริง คาดว่าปีหน้าอาจจะเปิดการแข่งขันหลาย Category มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้ส่งตัวแทนครีเอทีฟไทยไปได้มากขึ้น

>>>> ช่วยเล่าถึงงานของตัวเองตอนแข่งขัน อาจเริ่มจาก Category ดิจิทัลก่อน

เต้ : โจทย์เวที Young Cannes Lions ส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์จากององค์กรไม่แสวงหากำไร ไม่ได้เป็นโจทย์ Product ขายของ ในรอบไทยโจทย์ที่ได้มาจากองค์กรที่มีชื่อว่า Big Tree Project ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรที่มีเป้าหมายในการช่วยดูแลรักษาจำนวนต้นไม้ในเมือง เพราะจำนวนต้นไม้ในเมืองของเราต่อประชากรคือน้อยมาก เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ เช่น โตเกียว สิงค์โปร ฮ่องกง ที่เขามีพื้นที่สีเขียวมากกว่า แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพหรือในเมืองของเรามันคือ หลาย ๆ ครั้งเราจะเห็นบางพื้นที่มีข่าวออกมาว่าตรงบริเวณนี้เกิดการตัดต้นไม้ เหี้ยนเตียน ตัดผิดวิธี ซึ่งมันเหมือนไม่ควรจะเกิดขึ้น เดิมทีต้นไม้ก็ไม่พอกับคนอยู่แล้ว พอมีปัญหาต้นไม้เหล่านี้ เขาก็เลยมอบโจทย์ตรงนี้ว่าจะทำอย่างไรให้คนเป็นหูเป็นตามากขึ้น เมื่อเวลาเห็นการตัดต้นไม้ที่อาจไม่รู้ว่าตัดถูกหรือตัดผิดวิธี ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหน่วยงานเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ร่วมไปถึงโครงการก่อสร้างในเมืองต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของโจทย์ที่อยากจะให้พวกเราคิดแคมเปญที่มีความเป็นดิจิทัล หลังจากที่ได้รับโจทย์แต่ละทีมก็จะมีเวลากัน 24 ชั่วโมง ในการทำแคมเปญ

>>>> อยากให้เล่าไอเดียของแคมแปญ

เต้ : โปรเจคที่เต้ทำ มีชื่อว่า The Watch out Running Route เนื่องจากมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนเมือง ซึ่งคนในเมืองส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้พบเจอต้นไม้ เราจึงมองไปที่กลุ่มที่เป็นนักวิ่งแบบ City Run มองว่ากลุ่มคนเหล่านี้ได้พบเจอต้นไม้อยู่แล้ว ก็เลยคิดถึงคนกลุ่มนี้ ไอเดียของเราคือการโคกับแอพพลิเคชั่นชื่อว่า Strava เป็นแอพพลิเคชั่นที่คนชอบวิ่งใช้กันเป็นส่วนใหญ่ มันสามารถครีเอท Route เส้นทางการวิ่งแบบใหม่ ๆ ได้ ก็เลยอยากที่ให้ทำแคมเปญของ Big Tree บนแอพลิเคชันนี้ สร้าง Route การวิ่งในแต่ละโซนที่ในระหว่างนั้นยังสามารถเป็นหูเป็นตาให้ต้นไม้ระแวกนั้น ถ้าเราพบเห็นการตัดต้นไม้ที่มันผิดก็สามารถช่วยกัน Capture และส่งได้ จาก Indsight คนที่วิ่งจะชอบแชร์ Result ของการวิ่ง เราก็เลยดึง insight ของคนตรงนี้มา

โฟร์ค : แคมเปญชื่อว่า Tree Mergency Pin หลัก ๆ คนยังไม่ค่อยมี Awareness เรื่อง ต้นไม้หรือว่า รู้จักองค์กรนี้ เราก็เลยคิดว่าทำอย่างไรให้มันเข้าถึงคนได้เยอะที่สุดและด้วยวิธีการที่ง่ายไม่ซับซ้อน ก็เลยอยากไปทำกับแอพ Google Map ที่ทุกคนมีอยู่แล้วบนมือถือ ซึ่งในทุกๆวันนี้เราก็ค่อนข้างใช้แอพพลิเคชั่นนี้ก็เกือบทุกวัน ปกติเวลาเราไปเจอที่ใหม่ที่ยังไม่มีใน Google Map เราสามารถ Generate เพิ่มสถานที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น คาเฟ่ โรงแรม ต่าง ๆ เลยคิดว่าควรทำเป็น Pin ที่ทาง Big Tree ทำขึ้นมา ว่าอันนี้มัน Tree Mergency จุดนี้ที่พบเจอเป็นต้นไม้ที่กำลังอาจจะโดนตัดแบบผิดกฎหมายหรือตัดแบบผิดวิธี ก็สามารถปักหมุดมาบอกพิกัดชัดเจนได้เลย ซึ่งตัว Pin นี้ก็จะส่งเรื่องแจ้งไปยัง Big Tree ให้เขาประสานงานดำเนินการต่อ

พิ้ง : สำหรับพิงค์เริ่มต้นไอเดียนี้คือรู้สึกว่า มีคำถามหนึ่งที่ถามว่า “แล้วหลังจากแจ้งโครงการไปแล้วนั้น แล้วมันยังไงต่อ...” ทางลูกค้าก็ตอบกลับว่า ก็ประสานงานต่อ เลยมองเป็นว่าถ้าคนตัวใหญ่เขาไม่กระเพื่อมก็สูญเปล่าอยู่ดี ณ ตอนนั้นเป็นช่วงก่อนเลือกผู้ว่าและรู้สึกว่ามันเป็นกระแสมากๆ ก็เลยรู้สึกว่าอยากจะทำอะไรเกี่ยวกับผู้ว่า ซึ่งเห็นป้ายโฆษณาผู้ว่า เลยเกิดไอดีจุดพลุให้คนมาสนใจวิธีนี้ เลยคิดชื่อไอเดียว่า “Dear the next Bangkok Governor, Please trim me right to keep me alive” คือโปรดตัดฉันให้ดี ๆ เถอะเพื่อให้ฉันยังมีชีวิตต่อไป วิธีการจุดพลุก็คือจะเอาต้นไม้ที่มันเคยตัดเหี้ยนเตียนแล้วและเอาป้ายหาเสียงของทุกคนที่เป็นตัว Top มาแปะและมาใส่ข้อความนี้ เป็นวิธีจุดพลุทำให้มันเป็นกระแส

ปอนด์ : ประเภทฟีล์ม โจทย์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคารพกฎจราจร ไอเดียชื่อ : Wait or Waste มีอินไซท์ประมาณว่าคนขับชอบไม่รอสัญญานไฟ เหมือนไฟเหลือง แค่รอแปปเดียวดีกว่าไปเสียเวลากับการเข้าโรงพยาบาล มันเป็นเรื่องที่เราต้องไปเสียเวลาเยอะมากขึ้นกับการที่เราไม่รอในช่วงเวลาสั้นๆ อันนี้คือ insight ของไอเดียอันนี้

>>>> แนะนำน้อง ๆ JC ที่อยากทำงาน Creative

โฟล์ค : การเสพ Reference เสพหนัง หรือเสพสื่ออื่น ๆ สามารถช่วยได้เยอะมากทั้งในแง่ของวิธีการเล่าเรื่องและในแง่ของวิธีการเล่าไอเดียด้วย ถ้าอยากจะทำงาน Creative ก็รีบเตรียมตัวในการเริ่มดูโฆษณาตั้งแต่วันนี้เลย

มุก : การดูโฆษณา การจับประเด็นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เรียนรู้และจดจำว่าเขานั้นทำอย่างไร เหมือนกับเวลาคิดหนังก็แค่รู้สึกต้องคิดว่า ให้คนเข้าใจง่ายมากที่สุดและก็ถ่ายทอดออกมาให้ได้ ซึ่งต้องใช้วิธีแบบครูพักลักจำและพยายามดูโฆษณาของต่างประเทศ โฆษณาต่างประเทศจะจบแบบง่ายๆ คมๆ และไม่ยืดยาว

พิ้ง : การเป็น Creative มันต้องตามเทรนด์ ต้องเสพโซเชียล ยิ่งโตขึ้นบางที Insight มันอาจจะไม่ใช่ Insight ของกลุ่มเป้าหมายเดิมอีกแล้ว เราต้องพยายามเข้าใจหรือปรับตัวตาม Generation ต่างๆ โซเชียลช่วยเราในทางหนึ่งให้เข้าใจในทุก Generation

เต้ : อย่ากลัวไปว่าเราไม่รู้ว่าการทำงานจริงมันจะเป็นอย่างไร เพราะว่า เราทุกคน ณ เวลานั้นก็ไม่ได้มีประสบการณ์กันมาก่อน คือ พอได้เริ่มการทำงานจริง ๆ แล้วมองย้อนกลับไปหลายๆ อย่างมันต้องเข้ามาเรียนรู้ของจริงตั้งแต่ต้น มันก็คือการเรียนรู้จากการทำงานจริง ซึ่งต้องปรับตัวอย่างมากและมันจะทำให้เราสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงมากขึ้น